ประกันภัยรถบรรทุกขนาดใหญ่ Truck We Insure

หน่วย : บาท

รถที่รับประกันภัย

  • – รถยนต์ที่รับประกันภัย คือ HINO, ISUZU, FUSO, MITSUBISHI, NISSAN และ UD
  • ไม่รับประกันภัยรถที่ดัดแปลงเป็นรถลากจูง
  • – ทุนประกันภัยต้องไม่ต่ำกว่า 80% ของราคาซื้อขายรถบรรทุก ณ วันที่ทำประกันภัย ทั้งนี้ กรณีที่มีการระบุอุปกรณ์เพิ่มพิเศษ ทุนประกันภัยจะต้องอยู่ในช่วงที่กำหนดไว้ตามตารางเบี้ยประกันภัย

เงื่อนไขความคุ้มครอง

  • – ตรวจสภาพรถก่อนรับประกันภัย
  • – บริการศูนย์ซ่อมมาตรฐานกรุงเทพประกันภัย (อู่ในสัญญา)


หมายเหตุ

  • 1. อุปกรณ์เพิ่มพิเศษ หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำให้การใช้งานรถบรรทุกมีความเสี่ยงภัยมากขึ้น ประกอบด้วย ดัมป์ เครื่องไฮดรอลิก และตู้เย็น (แต่ไม่รวมถึงเครื่องทำความเย็น หรือ Compressor)
  • 2. เพื่อประโยชน์สูงสุดของท่าน กรุณาตรวจสอบทุนประกันภัยและเบี้ยประกันภัยรถยนต์ของท่านกับเจ้าหน้าที่รับประกันภัย
  • 3. ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไข ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
  • 4. เบี้ยประกันภัยดังกล่าวรวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

ติดต่อพนักงาน

สอบถามเพิ่มเติม

ประเภทรถบรรทุก (รถใหญ่)

ลักษณะรถบรรทุกที่ใช้มักจะขึ้นกับลักษณะสินค้าที่ใช้ขน เช่น รถหัวลาก ซึ่งมีกำลังเครื่องยนต์มากที่สุดจะใช้ขนตู้ container ที่มีสินค้าอยู่ภายในไปทั้งตู้ ในขณะที่รถสิบล้อ หรือ รถหกล้อ จะใช้ขนสินค้าได้หลายแบบ เช่น ขนดิน, ขนทราย, หรือสินค้าอุปโภคบริโภค และใช้ผ้าใบคลุมเอาไว้ หรือ ต่อตู้ทำเป็นตู้ทึบ เพื่อป้องกันสินค้าเปียกน้ำ หรือ ต่อตู้เย็น(ตู้ที่มีเครื่องทำความเย็น) เพื่อใช้ขนสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ 

การเลือกทำประกันประเภทรถบรรทุก มีการแบ่งประเภทของประกันเหมือนๆ กับประกันภัยรถยนต์ทั่วไป อย่าง ประกันชั้น 1 , 2 และ 3 โดยจะมีการกำหนดอายุ ขนาดของรถบรรทุก ในการเลือกทำประกันบรรทุกที่เหมาะสมที่สุด ดังนี้

– ประกันชั้น 1 มีความคุ้มครองสูงสุด คือ คุ้มครองตัวรถเอาประกันทุกกรณี และคุ้มครองชีวิต/ทรัพย์สิน บุคคลภายนอก เหมาะสำหรับรถที่ยังไม่หมดภาระไฟแนนซ์ หรือ รถที่อายุไม่เกิน 15 ปี

– ประกันชั้น 2 คุ้มครองตัวรถเอาประกันกรณีสูญหาย ไฟไหม้ และคุ้มครองชีวิต/ทรัพย์สิน บุคคลภายนอก เหมาะสำหรับผู้ประกันที่ต้องการลดค่าใช้จ่าย ค่าเบี้ยประกันภัยลง

– ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะชีวิต/ทรัพย์สิน บุคคลภายนอก ซึ่งเป็นการประกันภัยขั้นต่ำที่ผู้ประกอบการทุกคน ต้องทำติดไว้ เพราะรถบรรทุกนั้นมีขนาดใหญ่ ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะมีความรุนแรงที่มากกว่ารถยนต์ขนาดเล็ก


ประเภทรถบรรทุก (รถใหญ่) ที่รับประกันภัย มีดังนี้

รหัสรถ 320 : รถยนต์บรรทุกเพื่อการพาณิชย์
ลักษณะการใช้งาน : ใช้เพื่อการพาณิชย์

รถบรรทุกตู้แห้ง หรือ ตู้เย็น

เป็นรถบรรทุกที่มีลักษณะเป็นตู้ทึบ และมีหลังคาและตัวถังที่บรรทุกระหว่างผู้โดยสารและผู้ขับเป็นตอนเดียว โดยจะมีประตูบานใหญ่ไว้สำหรับให้ผู้โดยสารขึ้นลง หรือจะเลือกเปิดท้ายก็ได้ มีน้ำหนักไม่เกิน 12 ตัน มี 4 ล้อ หรือ 6 ล้อ


รถบรรทุกยกเทได้ (รถดั๊มพ์)

เป็นรถบรรทุกที่มีลักษณะด้านหน้าเหมือนกับรถบรรทุกตู้แห้ง แต่ส่วนท้ายจะมีชุดอุปกรณ์ไฮดรอลิกส์ เพื่อใช้ยกเทสินค้า โดยส่วนมากใช้บรรทุกหิน ดิน ทราย ปูน อิฐ เป็นต้น มีน้ำหนักเกิน 12 ตัน มี 6 ล้อ


รถบรรทุกโม่ปูน

จัดเป็นรถบรรทุกเฉพาะกิจ ใช้ในกิจการใดกิจการหนึ่งโดยเฉพาะ โดยรถโม่ปูน หรือ รถโม่ผสมคอนกรีตมี 2 ประเภท คือ รถโม่ผสมคอนกรีตขนาดใหญ่ หรือรถโม่ใหญ่ นิยมใช้เป็นรถ 10 ล้อ(รถสิบล้อบรรทุกคอนกรีต) และรถโม่ผสมคอนกรีตขนาดเล็กหรือรถโม่เล็กนิยมใช้เป็นรถ 6 ล้อ(รถหกล้อบรรทุกคอนกรีต)


รถบรรทุกมีเครื่องทุ่นแรงไฮดรอลิกส์เครน

เป็นรถบรรทุกที่มีการติดตั้งเครื่องทุ่นแรงไฮดรอลิกส์เครนไว้ด้านท้าย เพื่อใช้สำหรับยกของหนัก หรือติดตั้งกระเช้า


รถบรรทุกมีเครื่องทุ่นแรงเฮี๊ยบ

รถเฮี๊ยบ คือรถบรรทุกที่ติดตั้งเครนสำหรับยกสิ่งของซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการแตกต่างกันออกไป เช่น Boom Truck(USA) , Truck Loader Crane(Japan) , Vehicle Loading(Australia) ปัจจุบันรถเฮี๊ยบ ได้พัฒนาเป็นเครนที่สามารถพับเก็บได้ มีประสิทธิภาพในการยกน้ำหนักได้สูงเมื่อเทียบกับน้ำหนักของตัวเครน มีขนาดกระทัดรัด ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย ช่วยเพิ่มเนื้อที่ส่วนที่จะใช้บรรทุกได้มากขึ้น


รถเครน

เครน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปั้นจั่น“ “เครน” คือ เครื่องจักรกลที่ใช้ยกสิ่งของหนัก ขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้น ในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ
มี 2 แบบ คือ เครนเคลื่อนที่ได้ (Mobile Cranes) หรือรถเครน และเครนเคลื่อนที่ไม่ได้ (Stationary Cranes)

โดยรถเครนแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
1. รถเครนตีนตะขาบ
2. รถเครนล้อยาง
3. รถเครน 4 ล้อ
4. เครนติดรถบรรทุก


รถบรรทุกติดตั้งฮุกลิฟท์

Hooklift เป็นอุปกรณ์สำหรับติดรถบรรทุกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย ให้รถบรรทุกสามารถยกเทกระบะได้



รถบรรทุกติดตั้งเครื่องฉีดปูน

คือรถบรรทุกที่ด้านท้ายติดตั้งเครื่องฉีดปูน หรือในทางอุตสาหกรรมเรียกกันว่า “ปั๊มคอนกรีต” หรือ “ปั๊มปูน” เป็นเครื่องจักรที่ใช้แรงดันเพื่อผลัก ดันให้คอนกรีตไหลไปในท่อส่งไปยังจุดที่ต้องการ คล้ายๆ กับปั๊มน้ำ ที่มีหน้าที่ดันน้ำให้ไหลไปตามท่อที่ต่อลำเลียง มีส่วนที่เป็นแขนกลไฮดรอลิกส์ที่สามารถยืดออกมาเพื่อลำเลียง คอนกรีตไปเทยังที่ต่างๆ ได้ ตัวปั๊มคอนกรีตและท่อส่งคอนกรีตจะถูก ติดตั้งไว้ด้วยกันบนรถบรรทุก ซึ่งทำให้สะดวกในการเคลื่อนย้ายปั๊ม อีก ทั้งท่อส่งคอนกรีตจะถูกควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิก สามารถอำนวย ความสะดวกในการเทคอนกรีตได้เป็นอย่างดี


รหัสรถ 340 – รถยนต์บรรทุกเพื่อการพาณิชย์พิเศษ
ลักษณะการใช้งาน : ใช้เพื่อการพาณิชย์พิเศษ

รถบรรทุกวัสดุอันตราย (แท็งค์น้ำมัน)

เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกเฉพาะเพื่อใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สารเคมี วัตถุระเบิด วัสดุไวไฟ ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะและมีป้ายเตือนอย่างชัดเจน


รหัสรถ 420 – รถยนต์ลากจูงเพื่อการพาณิชย์
ลักษณะการใช้งาน : ใช้เพื่อการพาณิชย์

รถบรรทุกลากจูง

เป็นรถที่เป็นลักษณะสำหรับใช้ลากรถพ่วง รถกึ่งพ่วง เพราะรถเหล่านั้นจะไม่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองจึงต้องอาศัยรถประเภทนี้ในการลากจูง


รหัสรถ 520 – รถพ่วงเพื่อการพาณิชย์
ลักษณะการใช้งาน : ใช้เพื่อการพาณิชย์

รถพ่วงยกเทได้ (ดั๊มพ์)

เป็นรถที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง จึงต้องอาศัยรถอื่นลากจูง จะมีโครงรถที่มีเพลาล้อที่สมบูรณ์ในตัวเอง โดยรถพ่วงยกเทได้ (ดั๊มพ์) จะมีชุดอุปกรณ์ไฮดรอลิกส์ เพื่อใช้ยกเทสินค้า เพื่อเพิ่มความสะดวกยิ่งขึ้น


รถพ่วงพื้นเรียบ

เป็นรถที่มีพื้นสำหรับบรรทุกสินค้าทั่วไปโดยมีทั้งพื้นไม้และพื้นเหล็ก ติดตั้งชุดล็อคตู้คอนเทนเนอร์ (Twist lock) สำหรับบรรทุกตู้สินค้าขนาด 20’, 40’ และ สามารถบรรทุกสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ เช่น ม้วนเหล็ก สินค้าพาเลท ปูนซิเมนต์ถุง เป็นต้น


รถพ่วงถังบรรทุกปูนผง หรือ อาหารสัตว์

– สำหรับรถพ่วงถังบรรทุกปูนผง เป็นรถพ่วงที่เหมาะกับการขนส่งสินค้าประเภท ซีเมนต์ ฝุ่นถ่าน ปูนขาวและผงหินแร่ ที่เป็นผงแห้งเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ 0.1 มิลลิเมตร

– สำหรับรถพ่งบรรทุกอาหารสัตว์ หรือเรียกอีกอย่างว่า “รถไซโล” ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เป็นหลัก


ใส่ความเห็น